วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2559


เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2554 ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ชัยนาท เดินทางไปสัมภาษณ์ฟาร์มเลี้ยงกระต่ายเนื้อ ของคุณเสน่ห์ ม่วงกล่อม ตั้งอยู่ที่ ถนนสาย 346 ใกล้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เลี้ยงกระต่ายประมาณ 50 แม่ เป็นพันธุ์ลูกผสมนิวซีแลนด์ไวท์กับพื้นเมือง มีพ่อพันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์พันธุ์แท้อยู่ ตัวที่ซื้อมาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฟาร์มนี้เลี้ยงกระต่ายเนื้อ ผลิตลูกขายพันธุ์ และขุนกระต่ายขาย โดยขายลูกกระต่ายหย่านม อายุ 30-35 วัน ราคาตัวละ 200 บาท 


กระต่ายสาวพร้อมผสมพันธุ์อายุเดือนขายตัวละ 600 บาท กระต่ายพ่อพันธุ์อายุ เดือนขาย ตัวละ 1,000 บาท และกระต่ายแม่พันธุ์ท้องแล้วราคาตัวละ 1,000 บาท (คลำตรวจท้องได้)เนื่องจากทางฟาร์มต้องการรักษาตลาดเนื้อกระต่ายไว้ประมาณเดือนละประมาณ 100 ตัว จึงมีฟาร์มลูกเล้า (ฟาร์มเครือข่าย) ช่วยผลิตกระต่ายขุนและรับซื้อให้ด้วย กระต่ายขุนจากลูกเล้าน้ำหนัก กิโลกรัมรับซื้อในราคา กก.ละ 70 บาท ถ้าขนไม่สวยจะตัดราคาลงเหลือ กก.ละ 60 บาท สำหรับผู้ที่จะเริ่มต้นเลี้ยงใหม่ๆแนะนำให้เลี้ยงตัวเมีย 10 ตัว และตัวผู้ ตัว เฉลี่ยได้ลูกครอกละ ตัว เลี้ยง เดือนก็จะได้ทุนคืน ทางฟาร์มจะเชือดกระต่ายสัปดาห์ละ 100 ตัว เชือดที่น้ำหนัก กิโลกรัมเมื่อทำเสร็จน้ำหนักลดลงเหลือเนื้อ 1.8 กิโลกรัมเนื้อกระต่ายชำแหละส่งพ่อค้าคนกลางมาซื้อที่หน้าฟาร์ม โดยแช่ในถังน้ำแข็งไว้ ในกิโลกรัมละ 180บาท ตลาดเนื้อกระต่ายพ่อค้านำไปส่งขายที่ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี แถวๆ พัทยาใต้หนังกระต่ายที่ได้จากการชำแหละนำมาฟอกเอง ใช้น้ำยาดองหนังในถังพลาสติก เมื่อทำเสร็จแล้วนำไปส่งขายให้โรงงานฟอกหนัง จังหวัดสมุทรปราการ ในราคาผืนละ 150 บาท ทางโรงงานฟอกหนังจะนำไปขายต่อที่ประเทศญี่ปุ่นต่อไป หนังที่ฟอกแล้วนิยมทำเป็น หมวก เสื้อ ผ้าพันคอ กระเป๋า เป็นต้น ถ้าซื้อปลีกจะขาย 250 บาท/ผืน แยกตัดหางไว้ทำพวงกุญแจขายอันละ 50 บาท ถ้ามีหางติดจะขาย 300 บาท/ผืน
อุปกรณ์ที่ใช้เลี้ยง ถ้วยดินเผาสำหรับใส่น้ำและอาหาร ใช้แล้ขายใบละ 10 บาท มีขอบกั้น ป้องกันกระต่ายคุ้ยอาหารตกหล่น กรงกระต่ายลักษณะส่วนล่างทำเป็นโต๊ะไม้มีช่องให้มูลกระต่ายร่วงได้ด้านบนใช้เหล็กเส้นและตาข่ายกั้นเป็นช่องๆละ ตัว ถ้าสั่งทำทางฟาร์มขายชุดละ 5,800 บาท ขนาดช่อง กว้าง 50 x ยาว 70 x สูง 50 เซนติเมตร แถวละ ช่องอาหารกระต่าย ทางฟาร์มซื้อมาจาก บริษัทลีพัฒนา สูตรอาหารกระต่าย 16% โปรตีน ใช้เลี้ยงกระต่ายได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ราคาถุงละ 330 บาท ทางฟาร์มแบ่งขายให้ในราคากิโลกรัมละ 15 บาท เสริมด้วยหญ้าขนสดตัดบริเวณข้างคอกกระต่ายเกี่ยวให้ตัวละ กำมือ ให้กินตอนเช้าก่อนที่จะให้อาหารข้น ตั้งถ้วยดินเผาใส่น้ำให้กินตลอดเวลา และหมั่นเปลี่ยนน้ำทุกวัน และขัดถ้ายดินเผาทุกสัปดาห์
โรคกระต่าย ปกติกระต่ายจะไม่ค่อยเป็นโรค แต่ผู้สัมภาษณ์สังเกตเห็นว่ากระต่ายที่ฟาร์มนี้บางตัวเป็นโรคขี้เรื้อนบริเวณจมูก และขา พบมากในกระต่ายหย่านม ทางฟาร์มรักษาด้วยการฉีดยา Ivomec สามารถคุ้มกันโรคได้ เดือน โดยฉีดยากระต่ายก่อนหย่านม ครั้งและหลังหย่านม เดือนฉีดอีก ครั้ง ยาที่ฉีดจะคุ้มกันโรคขี้เรื้อนได้จนถึงตั้งท้อง โรคอื่นๆ ก็มีโรคท้องเสียหรือเป็นหวัดบ้าง ทางฟาร์มให้กินยาแก้ท้องเสียของสุกร
กระต่ายเป็นสัตว์ให้เนื้อที่มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนอาหารสูงมาก  แม่กระต่ายหนึ่งตัวสามารถผลิตลูกกระต่ายที่อดนมแล้วมีน้ำหนักถึง 10 เท่าตัวมันใน 1 ปี ในขณะที่สุกรซึ่งได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ที่เปลี่ยนอาหารให้เป็นเนื้อที่เก่งที่สุดสามารถผลิตลูกสุกรขนาดหย่านมได้น้ำหนักรวมกันเพียงเท่าเดียวเท่านั้น  การเลี้ยงกระต่ายเพื่อเอาเนื้อไม่แต่จะเหมาะสำหรับเพิ่มอาหารโปรตีนในครอบครัวเท่านั้น แต่ยังสามารถเลี้ยงเป็นการค้าได้อีกด้วย เพราะความต้องการของตลาดมีอยู่มากและอาจทำให้มากจนจำหน่ายต่างประเทศได้อีกด้วย
ลักษณะของกระต่ายเนื้อ
กระต่ายที่จะเลี้ยงเป็นกระต่ายเนื้อนิยมเลี้ยงกระต่ายขนาดกลางมีขนาดน้ำหนักประมาณ 2 กิโลกรัม เมื่ออายุ 2 เดือนหนึ่ง เมื่อฆ่าแล้วได้น้ำหนักทรากทั้งกระดูกหนัก 1 กิโลกรัม โดยมีเปอร์เซ็นต์ทรากที่แต่งแล้ว 50-59 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักมีชีวิต มีเนื้ออวบแน่นที่ต้นขาหลังและบริเวณสันหลังมาก เนื้อแน่นละเอียด ไม่มีกลิ่น เนื้อและไขมันสีขาว พันธุ์กระต่ายที่นิยมในต่างประเทศคือพันธุ์นิวซีแลนด์ไว้ท์และพันธุ์แคลิฟอร์เนียน น้ำหนักกระต่ายพันธุ์นี้เมื่อโตเต็มที่จะหนักประมาณ 4 – 4 ½ กิโลกรัม กระต่ายที่มีขนสีขาวจะได้เปรียบกระต่ายที่มีสีอื่น เพราะได้ราคาแพงกว่าเป็นที่นิยมของตลาด แต่กระต่ายพันธุ์แท้เหล่านี้ไม่สู้เหมาะกับอากาศของเมืองไทย  เพราะเลี้ยงยากไม่ได้ผลดีเหมือนในต่างประเทศ ส่วนกระต่ายพื้นเมืองของไทยมักจะมีขนาดเล็กไปบ้าง  ถ้าจะเลี้ยงให้ได้น้ำหนัก 2 กิโลกรัมจะต้องใช้เวลานานถึง 4-5 เดือน กระต่ายลูกผสมโดยใช้กระต่ายพันธุ์แท้เป็นพ่อและกระต่ายพื้นเมืองเป็นแม่จะเลี้ยงให้โตได้ขนาดหนัก 2 กิโลกรัมในเวลา 3-3 ½ เดือน กระต่ายเนื้อในปัจจุบันมักใช้กระต่ายลูกผสมโดยการผสมข้ามระหว่างกระต่าย 2 พันธุ์ ลูกผสมจะลูกดก ลูกเติบโตเร็วกว่ากระต่ายพันธุ์แท้

กระต่ายที่จำหน่ายในตลาดสำหรับปรุงอาหารแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามขนาดที่ใช้คือ กระต่ายย่างหรือกระต่ายทอด (Frger) และกระต่ายอบ (Roaster)
(1)  กระต่ายย่าง  กระต่ายย่างเลี้ยงส่งตลาดเมื่อมีน้ำหนักประมาณ 2 กิโลกรัม และเมื่อฆ่าและแต่งทรากแล้วจะได้ทรากติดกระดูกหนักประมาณ 1.0-1.2 กิโลกรัม  กระต่ายประเภทนี้ถ้าใช้กระต่ายพันธุ์ขนาดกลางและโตเร็วจะได้ขนาดส่งตลาดเมื่อหย่านมอายุประมาณ 2-2 ½ เดือน ถ้าเป็นกระต่ายพันธุ์เบาหรือตัวเล็กจะต้องใช้เวลาเลี้ยงขุนต่อไปอีกหลังหย่านมประมาณ 1 เดือน ข้อเสียของการจำหน่ายกระต่ายย่างคือเมื่อฆ่าจะได้เปอร์เซ็นต์ทรากต่ำกว่ากระต่ายที่มีขนาดใหญ่กว่านี้เพราะกระต่ายยังไม่อ้วนยังไม่มีไขมันมาก และหนังกระต่ายจะมีขนาดเล็กทำให้ได้ราคาค่ำ  กระต่ายย่างจะใช้อาหารน้อยในการสร้างเนื้อ 1 กิโลกรัม เพราะกระต่ายเล็กที่เติบโตเร็วจะมีประสิทธิภาพสูงกว่ากระต่ายใหญ่
ประโยชน์ และข้อดีของกระต่าย
1. กระต่ายเป็นสัตว์ที่มีอัตราการให้เนื้อสูงเมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์เศรษฐกิจชนิดอื่น ให้ลูกต่อครอกจำนวนมาก เฉลี่ย 8 ตัว/ครอก ให้ลูกได้ถึง 10 – 11 ครอก/ปี การตั้งท้องสั้น ประมาณ 1 เดือน และผสมพันธุ์ใหม่ได้เพียงไม่กี่วันหลังคลอด
2. เนื้อกระต่ายให้รสชาติ และคุณภาพดี มีมัดกล้ามเนื้อขนาดเล็ก เนื้อมีโปรตีนสูง ไขมันต่ำ สามารถนำไปปรุงอาหารได้ทุกประเภท
คุณค่าทางอาหารของเนื้อกระต่าย (100 กรัม)
– น้ำ 75 กรัม
– โปรตีน 22.4 กรัม
– ไขมัน 1.4 กรัม
– พลังงาน 102 กิโลแคลอรี่
– คอเลสเตอรอล 48 มิลลิกรัม
– เหล็ก 1.13 มิลลิกรัม
– โซเดียม 37 มิลลิกรัม
ที่มา : Cavani และคณะ, 2009.(2)
3. กระต่ายสามารถให้หนัง และขนที่มีคุณภาพสูง หนัง และขนนำไปทำเครื่องนุ่งห่ม สิ่งประดิษฐ์ สิ่งทอ และเครื่องใช้ต่างๆ
4. กระต่ายเลี้ยงง่าย ต้นทุนต่ำ กินอาหารไม่เลือก อาหารสามารถหาได้ตาท้องถิ่น เช่น หญ้า ผักบุ้ง ผักกาด เป็นต้น
5. กระต่ายมีอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อสูง ทำให้ใช้อาหารน้อยในการเลี้ยง
6. กระต่ายเป็นสัตว์ขนาดเล็ก ใช้พื้นที่น้อย เชื่อง และไม่ดุร้าย
7. มูลกระต่ายมีอินทรีย์วัตถุ และธาตุอาหารสูง สามารถใช้เป็นปุ๋ยแก่ต้นพืชได้เป็นอย่างดี
8. กระต่ายใช้เป็นสัตว์ทดลองในทางการการแพทย์ เนื่องจากมีความเชื่อง และไม่ดุร้าย
9. กระต่ายมีขนปุกปุย และมีหลายสีสวยงาม นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความสวยงาม และหากมีลักษณะเด่นที่สวยงาม สามารถเลี้ยงเพื่อจำหน่ายได้ในราคาที่สูง
วงจรการผลิตกระต่าย
– กระต่ายมีอายุเฉลี่ยประมาณ 5 ปี
– อายุที่พร้อมในการผสมพันธุ์ คือ ประมาณ 5 – 7 เดือน
– กระต่ายเพศเมียมีวงรอบการเป็นสัด 16 – 18 วัน ช่วงการยอมรับผสมพันธุ์ 12 – 14 วัน
– การอุ้มท้องประมาณ 29 – 35 วัน แต่เฉลี่ยที่ประมาณ 31 วัน
– แม่กระต่ายใช้เวลาเลี้ยงลูก 4 – 8 สัปดาห์ หลังจากนั้น 2 – 7 วัน จึงจะสามารถผสมพันธุ์ใหม่ได้ – ลูกกระต่ายเกิดใหม่จะไม่มีขนปกคลุม มีลักษณะหูตีบ ไม่ลืมตาจนหลังจาก 10 วัน จึงจะมีขนขึ้นปกคลุม และสามารถลืมตาได้
– เมื่อกระต่ายอายุ 15-20 วัน จะสามารถเดินออกจากรัง และเริ่มกินอาหารได้
– ลูกกระต่ายหย่านมเมื่ออายุ 4 – 8 สัปดาห์ หลังจากนั้น สามารถนำไปเลี้ยงขุนได้
อาหารกระต่าย
กระต่ายเป็นสัตว์กระเพาะเดี่ยวเหมือนมนุษย์ที่ต้องใช้เอนไซม์ และจุลินทรีย์บางชนิดสำหรับย่อยอาหาร มีกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ไส้ตัน และไส้ตัน โดยทั่วไปตามธรรมชาติกระต่ายจะกินพืชต่างๆเป็นอาหารหลัก เช่น หญ้า และผักต่างๆ รวมถึงมีพฤติกรรมกินมูลของตัวเองเป็นอาหาร จึงทำให้กระต่ายเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย เนื่องจากอาหารที่ใช้เลี้ยงสามารถหาได้ตามท้องถิ่นโดยไม่ต้องหาซื้อหรือหากชื้อก็มีราคาไม่แพงนัก ทั้งนี้ อาจให้อาหารข้นเสริมด้วยสำหรับการเลี้ยงเพื่อค้าขาย โดยอาหารกระต่ายแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. อาหารหยาบ
อาหารหยาบ เป็นอาหารที่มีเยื่อใยสูง มีสารอาหารต่อหน่วยน้ำหนักน้อย ได้แก่ หญ้า และพืชผักชนิดต่างๆ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ อาหารหยาบสด ได้แก่ หญ้า ผัก และพืชหมัก และอาหารหยาบแห้ง ได้แก่ หญ้าแห้ง และพืชแห้งต่าง ๆ
คุณค่าทางอาหารของหญ้าเนเปียร์ (เปอร์เซ็นต์ วัตถุแห้ง)
ส่วนประกอบ เนเปียร์ เนเปียร์แคระ เนเปียร์ยักษ์
1. วัตถุแห้ง (dry matter)
– เนเปียร์ 19.55%
– เนเปียร์แคระ 20.20%
– เนเปียร์ยักษ์ 24.32%
2. โปรตีน (crude protein)
– เนเปียร์ 10.11%
– เนเปียร์แคระ 12.14%
– เนเปียร์ยักษ์ 10.80%
3. เยื่อใยหยาบ (crude fiber)
– เนเปียร์ 25.51%
– เนเปียร์แคระ 26.19%
– เนเปียร์ยักษ์ 28.62%
4. ไขมัน (ether extract)
– เนเปียร์ 1.97%
– เนเปียร์แคระ 1.84%
– เนเปียร์ยักษ์ 1.93%
5. เถ้า (ash)
– เนเปียร์ 19.00%
– เนเปียร์แคระ 17.92%
– เนเปียร์ยักษ์ 14.90%
6. Nitrogen free extract
– เนเปียร์ 30.25%
– เนเปียร์แคระ 31.58%
– เนเปียร์ยักษ์ 33.29%
7. เยื่อใยที่ละลายในกรด (acid detergent fiber)
– เนเปียร์ 40.88%
– เนเปียร์แคระ 39.81%
– เนเปียร์ยักษ์ 40.37%
8. เยื่อใยที่ละลายในด่าง (nutral detergent fiber)
– เนเปียร์ 61.34%
– เนเปียร์แคระ 59.95%
– เนเปียร์ยักษ์ 61.21%
9. ลิกนิน
– เนเปียร์ 3.11%
– เนเปียร์แคระ 3.54%
– เนเปียร์ยักษ์ 3.66%
10. เฮมิ-เซลลูโลส
– เนเปียร์ 20.36%
– เนเปียร์แคระ 20.13%
– เนเปียร์ยักษ์21.9%
11. เซลลูโลส
– เนเปียร์ 27.74%
– เนเปียร์แคระ 28.21%
– เนเปียร์ยักษ์29.59%
ที่มา : รักษิณา, 2553.(3)
2. อาหารข้น (Concentrate) เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารต่อหน่วยสูง ทั้งพลังงาน โปรตีน  ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุในปริมาณที่สูง เป็นอาหารที่เกิดจากการนำส่วนผสมของวัตถุดิบที่มีสารอาหารสูงมารวมกัน ได้แก่ อาหารผสมของรำข้าว ข้าวโพด ปลาป่น เป็นต้น
3. อาหารเม็ดสำเร็จรูป (Complete Pelleted Feed) เป็นอาหารอัดเม็ดสำเร็จรูปที่ประกอบด้วยอาหารข้น และอาจผสมอาหารหยาบด้วย โดยผลิตขึ้นจากวัตถุดิบหลายชนิดรวมกัน พร้อมปรับปรุงคุณภาพให้สัตว์สามารถย่อย และดูดซึมนำไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย อาหารชนิดนี้สามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น